เทคนิคต่างๆ

เทคนิคในการสร้าง Sequence Diagram
เทคนิคในการสร้าง Sequence Diagram จาก Use Case และ Class Diagram

1. พิจารณาที่ละ Use Case โดยยังไม่ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่แต่ละ Use Case มีต่อกัน

2. พิจารณาที่ละ Use Case ว่ามี Class หรือ Object ใดร่วมทำให้เกิดกิจกรรมใน Use Case นั้นๆ บ้าง

3.นำเอา Class หรือ Object ต่างๆ มาเรียงต่อกันในแนวนอน (รูป Sequence Diagram) โดยให้นำ Actor (ในกรณีที่ Use Case นั้นมี Actor ด้วย) ไว้ที่ด้านซ้ายมือสุดเสมอ แล้วนำเอา Class หรือ Object ต่างๆ เรียงต่อกันจากซ้ายไปขวา (แล้วแต่ความเหมาะสม)

4. หาก Use Case นั้นมี Actor โดยปกติแล้วกิจกรรมแรกที่ถูกเรียกมักจะเกิดจาก Actor ก่อนเสมอ ดังนั้นเมื่อเกิดกิจกรรมไปที่ Class หรือ Object ใด ให้ย้าย Class หรือ Object นั้นมาทางซ้าย ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งกิจกรรมทั้งหมดครบถ้วน

5. กรณีที่มีกิจกรรมเกิดขึ้นใหม่ แต่ Function ที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีใน Class หรือ Object ที่ลูกศรชี้ไป ให้เข้าไปเพิ่ม Function นั้นๆ ลงไปที่ Class นั้นใน Class Diagram

6. หากต้องมีการเพิ่ม Class ใหม่เข้าไปใน Sequence Diagram ต้องเข้าไปเพิ่มเติม Class นั้น และ Relationship ที่มีทั้งหมดใน Class Diagram ด้วย (แต่ Class ที่เพิ่มเข้าไปนั้น เป็น Class เพื่อจำลองกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงๆ ของระบบเท่านั้น ไม่ใช่ Class เพื่อการ Implement เช่น User Interface ต่างๆ)

7. ทำขั้นตอน 1-6 จนครบทุก Use Case

8. การสร้างความสัมพันธ์ของ Sequence Diagram จาก Use Case ที่มีการ Uses ทำได้โดยการนำ Class และกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน Use Case ที่ถูก Use มาแทรกเข้าไปใน Use Case ที่เรียกใช้ และใช้กิจกรรมเพื่อเชื่อมโยง Sequence Diagram ทั้งสอง

9. การสร้างความสัมพันธ์ของ Sequence Diagram จาก Use Case ที่มีการ Extends ทำได้โดยนำ Class และกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน Use Case ที่ Extend มาแทรกเข้าไปใน Use Case ที่ถูก Extend และ ใช้กิจกรรมเพื่อเชื่อมโยง Sequence Diagram ทั้งสอง